Fast Blinking Hello Kitty

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Unit 2 การสร้างแบบทดสอบด้วย JQuiz

การสร้างแบบทดสอบด้วย JQuiz

แบบทดสอบแบบ JQuiz เป็นแบบทดสอบที่ให้เลือกคำตอบที่ถูก โดยที่ผู้ตอบจะต้องเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว โดยมีวิธีการสร้างดังนี้


ส่วนของการป้อนข้อมูล
1.เปิดโปรแกรม Hot Potatoes แล้วให้ทำการคลิกเลือก JQuiz ดังรูปที่ 15


รูปที่ 15 หน้าต่างโปรแกรม Hot Potatoes

2. จะปรากฏหน้าต่างใหม่
3. เลือก Mode การทำงานได้โดยเลือกไปที่เมนู Option เลือก Mode เลือก Beginner mode (เริ่มต้น) หรือ Advanced mode (ขั้นสูง) ในที่นี้เลือก Beginner mode ดังรูปที่ 16


รูปที่ 16 การเลือก Mode การทำงาน

จะได้หน้าต่างสำหรับการสร้างแบบทดสอบ มีรายละเอียดหน้าจอการทางานดังนี้ ดังรูปที่ 17


รูปที่ 17 แสดงหน้าต่างของแบบทดสอบแบบ JQuiz

แถบเมนู
     File          เป็นเมนูที่ทำงานเกี่ยวกับเอกสาร เช่น สร้างเอกสารใหม่ เปิดเอกสาร บันทึกงาน          
     Edit          เป็นเมนูที่ทำงานเกี่ยวกับการแก้ไขข้อมูล คัดลอกข้อมูล ตัดข้อมูล วางข้อมูล ลบข้อมูล
     Insert        เป็นเมนูที่ทำงานเกี่ยวกับการแทรกรูปภาพ การลิงค์ไป URL หรือ File ข้อมูล
     Manage Questions เป็นเมนูที่ทำงานเกี่ยวกับคาถาม เช่น สลับคำถาม ลบคำถาม แทรกคำถาม
     Options     เป็นเมนูที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดรูปแบบตัวอักษร การปรับแต่งการแสดงผลทาง output
     Help         เป็นเมนูที่ทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือหรือรายละเอียดเพิ่มเติม

แถบเครื่องมือ
   สร้างแบบทดสอบใหม่
   เปิดแบบทดสอบที่ได้บันทึกงานไว้
 บันทึกงาน
    บันทึกงานและเปลี่ยนชื่องาน
  บันทึกงานเป็น  html
    ปิดโปรแกรม
    ย้อนกลับ
    ตัด
    คัดลอก
    วาง
  แทรกรูปภาพจากเว็บ
    แทรกรูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์
   แทรก  link  ที่เป็น  URL
   แทรก  link  ที่เป็นไฟล์อื่น ๆ  จากเครื่องคอมพิวเตอร์
   แสดงหน้าต่าง  Configure
    เป็นการขอความช่วยเหลือหรือรายละเอียดเพิ่มเติม

          4. เริ่มการสร้างแบบทดสอบโดยพิมพ์หัวข้อเรื่องลงไปในช่อง Title เช่น ชื่อวิชา ชื่อบทเรียน ดังรูปที่ 18


รูปที่ 18 แสดงช่อง Title

 5. สร้างคำถามที่1 โดยเลือก Q1 แล้วพิมพ์คำถามลงในช่องว่าง ดังรูปที่ 19


รูปที่  19 แสดงคำถามข้อที่  1

 6. สร้างคำตอบแบบหลายตัวเลือก (Multiple-choice) ดังรูปที่ 20


รูปที่  20  แสดงการเลือก

7. ในช่อง Answers เป็นช่องสำหรับการใส่คำตอบ ให้ทำการใส่คำตอบที่ต้องการลงไป ในส่วนของช่อง Feedback เป็นช่องสำหรับการแสดงผลของการเลือกคำตอบนั้นๆ เช่น  รูปภาพ คำพูด เป็นต้น ดังรูปที่ 21



รูปที่ 21 ส่วนของ Answers และ Feedback

8. เมื่อได้ทำการใส่คำถาม คำตอบ และ Feedback เรียบร้อยแล้วต้องกำหนดว่าคำตอบข้อใดถูกต้อง ให้ไปกำหนดที่ ช่อง Settingโดยคลิกเลือกข้อคำตอบที่ถูกต้องในช่อง Correct ดังรูปที่ 22


รูปที่  22 แสดงการเลือกคำตอบที่ถูก

9. เพิ่มคำถามโดยคลิกเลือกตรงลูกศรชี้ขึ้นข้าง Q1 แล้วทาการสร้างคำถาม คำตอบ ตามความต้องการ ดังรูปที่ 23

รูปที่  23  แสดงการเลือกคำตอบข้อต่อไป
         10.บันทึกแบบทดสอบโดยคลิกที่ไอคอน หรือไปที่เมนู file เลือกคำสั่ง save เลือก Folder ที่ต้องการเก็บ แล้วตั้งชื่อ file โดยที่ file ที่ได้จะมีนามสกุล .jqz

การตกแต่งแบบทดสอบ
การใส่รูปภาพ
1.การใส่รูปภาพให้วาง  cursor  ในตำแหน่งที่ต้องการวางรูปภาพแล้วไปที่เมนู  insert  เลือกคำสั่ง  picture
2.เลือกรูปภาพ
                    2.1.picture  from  web  url  เป็นการ  Download  รูปภาพมาจากเว็บไซต์ที่ต้องการ
                    2.2.picture  from  local  file  นำรูปมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์
3.เลือกรูปภาพที่ต้องการแล้วคลิก  Open  ดังรูปที่  24


รูปที่  24  แสดงการเลือกรูปภาพ
4.ได้หน้าต่างของรูปภาพ  สามารถทำการปรับขนาดและตำแหน่งของรูปภาพได้  ดังรูปที่  25


รูปที่  25  แสดงหน้าต่างของการปรับแต่งรูปภาพ

5.หลังจากปรับแต่งรูปภาพเรียบร้อย  คลิกปุ่ม  OK  จะได้หน้าต่าง  ดังรูปที่  26


รูปที่  26  แสดง  code  ของรูปภาพ

จะเห็นได้ว่าในตำแหน่งที่วางรูปภาพโปรแกรมจะเปลี่ยนเป็น  source code

ส่วนของการกำหนดค่าต่าง ๆ ใน  output  (Configuring  the  output)  ของแบบทดสอบ  JQuiz
การกำหนดค่าต่าง ๆ ใน  output  มีวิธีการทำดังนี้
1.จากหน้าต่างที่ทำแบบทดสอบ  คลิกที่เมนู  option  เลือกคำสั่ง  Configure  Output  ดังรูปที่ 27


รูปที่  27  แสดงการเลือกคำสั่ง  Configure  Output

2.จะปรากฏหน้าต่าง  Configuration  screen  จะมีแท็ป  แท็ป
2.1 แท็ป  titles  / Instructions  สำหรับใส่ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเรื่อง  หัวข้อ  หัวเรื่องย่อยวัตถุประสงค์หรือคำแนะนำ  มีอยู่  ส่วน  ดังรูปที่  28
   - Exercise  Subtitle  คือหัวข้อหรือหัวเรื่องย่อยสำหรับแบบทดสอบ
   - Instruction  เป็นคำแนะนำ  หรือวัตถุประสงค์  ของหัวข้อนี้


รูปที่  28  แสดงแท็ป  Titles / Instruction

2.2 แท็ป Prompts / Feedback สำหรับการแสดงข้อความแสดงผลการตอบคำถาม ดังรูปที่ 29


รูปที่ 29 แสดงแท็ป Prompts / Feedback

   -Correct indicator : ถ้าตอบถูกต้องจะให้แสดงเครื่องหมายหรือคำพูดอะไรที่ตัวเลือกนั้น
   -Incorrect indicator : ถ้าตอบผิดจะให้แสดงเครื่องหมายหรือคำพูดอะไรที่ตัวเลือกนั้น
   -Guess correct : ถ้าตอบถูกต้องจะให้แสดงคำพูดอะไร
   -Guess incorrect : ถ้าตอบผิดจะให้แสดงคำพูดอะไร
   -Your score is : เป็นช่องที่จะให้แสดงคำพูดหรือเครื่องหมายว่าสามารถทำคะแนนได้เท่าไร
   - Question answered correctly first time : คือการแสดงให้เห็นว่าตอบถูกในครั้งแรกที่เลือกทำได้กี่ข้อจากทั้งหมดกี่ข้อ
2.3 แท็ป Buttons สำหรับกำหนดข้อความแสดงปุ่มต่างๆ ดังรูปที่ 30


รูปที่ 30 แสดงแท็ป Buttons

สำหรับการเลือกคำตอบแบบ Short answer จะมี 3 หัวข้อย่อย
     -Caption for “Check Answer” button : เป็นปุ่มสำหรับที่จะให้ตรวจคำตอบ
     -Include “Hint” button : เป็นปุ่มสำหรับที่จะให้แสดงตัวช่วย
     -Include “Show answer” button : เป็นปุ่มสำหรับที่จะให้แสดงคำตอบ
การเลือกคำตอบแบบปกติ
     - Caption for “OK” button : เป็นปุ่ม ตกลง ยืนยัน หรือทำต่อ
     -Caption for “Next question” button : เป็นปุ่มให้แสดงคำถามข้อต่อไป
     -Caption for “Previous question” button : เป็นปุ่มให้แสดงคำถามก่อนหน้า
     - Caption for “Show one by one” button : เป็นปุ่มให้แสดงคำถามทีละข้อ
     - Caption for “Show all question” button : เป็นปุ่มให้แสดงคำถามทั้งหมด
     - Include “Next Exercise” button : ถ้าต้องการให้แสดงให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมให้เกิดเครื่องหมายถูก
     - Caption : เป็นปุ่มที่ให้ใส่สัญลักษณ์หรือคำพูด
     - Next Exercise URL : ให้ใส่ URL ที่ต้องการจะ link ไปหา หรือคลิก Browse เพื่อเลือก URLอื่นๆ ที่ ต้องการ
     - Include “Go to Contents” button : ถ้าต้องการให้แสดงให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมให้เกิดเครื่องหมายถูก
     - Caption “Index” : เป็นปุ่มที่ให้ใส่สัญลักษณ์หรือคำพูด
     - Contents page URL : ให้ใส่ URL ที่ต้องการจะ linkไปหา หรือคลิก Browse เพื่อเลือก URLอื่นๆ ที่ต้องการ
2.4 แท็ป Appearance สำหรับการตกแต่งแบบทดสอบให้กำหนดสีหรือ Background ต่างๆ ของหน้ากระดาษแบบทดสอบ ดังรูปที่ 31


รูปที่ 31 แสดงแท็ป Appearance

     -Background graphic URL : สำหรับกำหนดรูปพื้นหลัง โดยคลิก Browse… แล้วเลือกรูปที่ต้องการโดยที่จะต้องไม่กำหนดสีในส่วนของ Page background color
     -Navigation bar color : สำหรับใส่สีที่ bar ด้านบนของกระดาษ
     -Page background color : สำหรับใส่สี พื้นหลังกระดาษ
     -Title color : สำหรับกำหนดสีของหัวเรื่อง
     -Exercise background color : สำหรับกำหนดสีให้กับพื้นหลังของเนื้อหา
     -Link color : สำหรับกำหนดสีให้กับตัวที่จะทำการ link ที่อยู่ในส่วนของเนื้อหา
     -Visited link color : สำหรับกำหนดสีให้กับตัวที่ทำการ link ไปแล้ว ที่อยู่ในส่วนของเนื้อหา
     -Text colour : สำหรับกำหนดสีให้กับตัวหนังสือที่อยู่ในส่วนของเนื้อหา
โปรแกรมจะแสดงตัวอย่างของแบบทดสอบอยู่ด้านซ้ายมือของหน้าต่าง
2.5 แท็ป Timer สำหรับการกำหนดเวลาสำหรับการทดสอบแต่ละชุด ดังรูปที่ 32


รูปที่ 32 แสดงแท็ป Timer

     - การจับเวลาในการทำแบบทดสอบ ให้คลิกในช่องหน้า Set a time limit for this exercise แล้วกำหนดเวลาที่ใช้สำหรับการทดสอบโดยมีหน่วยเป็นวินาที และนาที
     -Your time is over : เป็นช่องที่บอกว่าหมดเวลาแล้ว สามารถใส่คำพูดลงไปได้
2.6 แท็ป Other เป็นแท็ปการเลือกรูปแบบต่างๆเพิ่มเติม ดังรูปที่ 33


รูปที่ 33 แสดงแท็ป Other

     - Shuffle order of question each time page loads : เป็นการสลับคำถามในแต่ละแบบทดสอบ
     - Shuffle order of answers in each question when page loads : เป็นการสลับคำตอบในแต่ละคำถาม
     - Show score after each correct answer :ให้แสดงคะแนนหลังการตอบคำถาม

ส่วนของการสร้างเว็บเพจของแบบทดสอบแบบ JQuiz
 เป็นขั้นตอนของการนำเอาแบบทดสอบที่สร้างไว้แล้วมาทำเป็นเว็บเพจ เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อไป มีวิธีการทำดังนี้
          1. เมนู file เลือกคำสั่ง create web page เลือก Web page for V6 browsers F6  หรือ ไปที่แถบเครื่องมือแล้วคลิกเลือก หรือกดปุ่ม  F6
2.จะได้ไดอะล็อก  Save As  เลือกโฟลเดอร์สำหรับเก็บข้อมูลและตั้งชื่อไฟล์  ชื่อไฟล์ให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อความสะดวกในการนำไป  Upload  ขึ้น  Web  Server  แล้วคลิก  Save  เพื่อนทำการบันทึก  ดังรูปที่  34


รูปที่  34  แสดงไดอะล็อก  Save  As

3.จะได้ไดอะล็อก  View or upload the exercise  ดังรูปที่  35 


รูปที่  35  แสดงไดอะล็อก  View or upload the exercise

จะมีให้เลือกอยู่  4  แบบ  ได้แก่
View  the exercise in my browser :  เป็นการดูตัวอย่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน
Upload the file to the hotpotaes.net Website  :  เป็นการนำผลงาน  Hot potatoes  ขึ้นเว็บไซต์
Nothing  :  เป็นการยกเลิกการกระทำ
         Help : เป็นการขอความช่วยเหลือหรือรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติม
         ในที่นี้ให้คลิกเลือกแท็ปแรก  (View the exercise in my browser)  เพื่อที่จะดูแบบทดสอบในบราวเซอร์ที่อยู่ในเครื่องของตนเอง ดังรูปที่  36


รูปที่  36  แสดงหน้าต่างของแบบทดสอบในบราวเซอร์

4.ถ้าที่หน้าจอแสดงแท็ปป้องกัน  ให้ทำการคลิกขวาแล้วเลือก  Allow Blocked  Content  จะได้ไดอะล็อกดังรูปที่  37  แล้วทำการคลิก  Yes


รูปที่  37  แสดงไดอะล็อก  Security  Warning

5.จะได้หน้าจอของแบบทดสอบที่ได้ทำไว้ทั้งหมด  ดังรูปที่  38 

รูปที่  38  แบบทดสอบที่แสดงเป็นเว็บเพจ


ไม่มีความคิดเห็น: